โปสเตอร์ป๊ะกั๋นยามแลงครั้งล่าสุด ครั้งที ๒๙

วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2552

สรุปป๊ะกั๋นยามแลงครั้งที่ ๑๙




















สรุปป๊ะกั๋นยามแลงครั้งที่ ๑๙
มลพิษหมอกควันกำลังทำร้ายคนลำปาง เราจะหยุดมันได้อย่างไร
ย่ำค่ำของวันที่เสาร์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๒ หน้าทิพย์อินน์เกสต์เฮาส์ กาดกองต้า ผู้นำเสวนาทยอยกันมา คุณสุพีระ ลัดดาชยาพร หัวหน้ากลุ่มเฝ้าระวังและควบคุมมลพิษ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ ๒ ลำปาง คุณยุพา จวงพลงาม พยาบาลอาชีวอนามัย โรงพยาบาลลำปาง คุณสุรพล ตันสุวรรณ รองนายกเทศมนตรีนครลำปาง ตามมา ส่วนคุณชัยวัฒน์ ทาปลูก ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการควบคุมไฟป่าภาคเหนือ ตามมาทีหลัง เพราะหาที่เสวนาไม่เจอ แต่พอมาถึง ก็ร่วมกันเสวนาอย่างเข้มข้น นพ.โกมล ภัทรฤทธิกุล ผู้ดำเนินการเสวนา และมี อ.วันชาติ นภาศรี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยโยนก ผู้ทำวิจัยเรื่อง แนวทางการบริหารจัดการเครือข่ายลดมลภาวะทางอากาศกรณีศึกษา : พื้นที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง และคุณบริบูรณ์ วชิรานุภาพ ประธานชุมชนจามเทวี เทศบาลนครลำปาง


เริ่มจาก คุณสุพีระ เล่าถึงสถานการณ์หมอกควันพิษ บอกเฝ้าระวังหมอกควันมาหลายปี มีจุดวัดหมอกควัน ๓ จุด จุดหนึ่งแถวศาลหลักเมือง จุดสอง อยู่ตรงสถานีอนามัยสบป๊าด อ.แม่เมาะ จุดสาม ตรงแถวประปาท่าสี อ.เมือง ปัญหาหมอกควันเกินค่ามาตรฐาน ๑๒๐ ไมโครกรัมต่อลบ.ม. มา ๒ -๓ ปี โดยวัดตลอด ๒๔ ชั่วโมง บางช่วง มีค่าสูงถึง ๕๐๐ ไมโครกรัมต่อลบ.ม. ค่าเฉลี่ยต่อวัน มีบางวันสูงเกือบ ๓๐๐ ไมโครกรัมต่อลบ.ม. ส่วนใหญ่จะสูงตอนกลางคืน ตี ๑ ตี ๒ ปัญหาของมลพิษหมอกควัน ส่วนหนึ่งเกิดจากลักษณะของภูมิประเทศของลำปางเป็นแอ่งกระทะ และช่วงเดือนนี้ เป็นช่วงที่มีความกดอากาศสูง


ปัญหามลพิษหมอกควัน สาเหตุเกิดจากคนทั้งหมด ที่จุดไฟเผาก่อให้เกิดหมอกควัน เผาไร่ เพื่อเตรียมปลูกข้าวโพด ปลูกอ้อย หรือทำไร่อย่างอื่น และ การเผาขยะ เศษใบไม้ กิ่งไม้ ต้องหาทางออกให้ชาวไร่ไม่ต้องเผาป่า เพื่อเตรียมในการ ปลูกไร่ ส่วนเรื่องการกำจัด ใบไม้ กิ่งไม้ ควรจะขุดหลุม หมักทำปุ๋ย หรือปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ ถ้าชาวบ้านไม่สามารกำจัดเองได้ เทศบาล หรือ อบต.ต้องมีหน้าที่จัดเก็บ ไม่เผา เอาไปรวมกันทิ้งเพื่อให้ย่อยเอง หรือไปทำปุ๋ยก็ได้ เทศบาลนครลำปาง ชุมชนม่อนกระทิง กับ ชุมชนป่าขาม๒ มีเครื่องบดใบไม้เพื่อไปใช้ประโยชน์ต่อไป เครื่องนี้ควรได้ซื้อให้ครบทุกชุมชน เพื่อป้องกันไม่ให้ชาวบ้านเผาขยะ


คุณสุรพล เล่าถึงสาเหตุต่างๆของหมอกควัน คุณยุพา กล่าวถึงเวลาที่มีมลพิษหมอกควัน ควรจะป้องกันตนเองอย่างไร อ.วันชาติ เล่าถึง การแก้ไขปัญหาหมอกควันโดยใช้ไตรภาคี ชุมชน ชาวบ้าน เป็นตัวหลัก ร่วมกันในการแก้ปัญหา หน่วยงานของรัฐอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ แต่ต้องเป็นผู้นำในการแก้ปัญหา ควรจะถือว่าเป็น วาระของจังหวัด แก้ปัญหาอย่างจริงจัง เพราะปัญหามลพิษหมอกควัน มีแต่จะทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี พวกเราทุกคนต้องร่วมมือ ร่วมแรงกันแก้ปัญหา ต่อไปปีหน้าปัญหาเรื่องหมอกควันจะได้เบาบางลง หน่วยงานราชการก็ต้องใส่ใจในเรื่องการเผาหญ้า แขวงการทาง หรือ การตัดหญ้าบริเวณเสาโทรคมนาคม
สุดท้ายการร่วมมือ ของทุกฝ่าย ราชการ ท้องที่ ท้องถิ่น จัดการปัญหาอย่างเป็นระบบ จะเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ที่จะไม่ทำให้มลพิษหมอกควันทำร้ายคนลำปางอีกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: