โปสเตอร์ป๊ะกั๋นยามแลงครั้งล่าสุด ครั้งที ๒๙

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

๑๐ เมษายน ๒๕๕๒ สรุป..ตามฮีตโตยฮอย ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง








ป๊ะกั๋นยามแลงครั้งที่ซาว...เราสัญจรไปร่วมงานกับเทศบาลนครลำปาง...สลุงหลวง กลองใหญ่ ปี๋ใหม่เมือง นครลำปาง
ผู้เข้าร่วมเสวนา อ.ประดิษฐ์ สรรพช่าง อดีต ผอ.สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง,อ.อัมพร เทพปินตา รองประธานสภาวัฒนธรรม จ.ลำปาง และดำเนินรายการเสวนาโดย อ.จริยา วิไลวรรณ อ.ภาควิชาจิตวิทยา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตลำปาง
“ตามฮีต โตยฮอย ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” ผู้เข้าร่วม นั่งฟรี ฟังฟรี พูดฟรี มีทั้งผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้สูงวัย และคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่

เวทีเสวนา ได้รื้อฟื้นความทรงจำในประเพณีปี๋ใหม่เมือง ที่ปฏิบัติมาแต่โบราณกาล ทั้งเรื่องวัฒนธรรมและกิจกรรมต่างๆ การตำหัว การทำอาหาร ทำบุญ การถวายไม้ค้ำศรี...ที่วันนี้เปลี่ยนแปลงไป และสิ่งที่ควรเปลี่ยนไป
เช่นการดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ เป็นการขอสูมาลาโทษ ที่ผู้อ่อนอาวุโส(ลูกหลาน)ได้เคยล่วงเกิน ทั้งโดยตั้งใจ ไม่ตั้งใจ
แต่เดิม การดำหัว จะมีการตระเตรียมน้ำอบหอมผสมดอกขมิ้น ส้มป่อย ข้าวตอกดอกไม้ ขอพรผู้สูงอายุ เสร็จแล้วผู้สูงอายุจะอวยพรและวักน้ำอบน้ำหอมลูบศีรษะและพรมให้กับผู้น้อย...แต่ปัจจุบัน การดำหัว เป็น ผู้น้อย ตักน้ำอบหอมรดมือให้ผู้หลักผู้ใหญ่ ไปเสียแล้ว
อีกเรื่อง การทำไม้คำศรีถวายวัด..นำไปค้ำต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์ ว่า เป็นการค้ำเพื่อดำรงพระพุทธศาสนา ที่เคยถวายกันบ้านละต้น แห่แหนกันไปวัด ปีละครั้งในวันพญาวัน แต่เดิมนั้น เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม และ ในขณะเดียวกัน เป็นการทำลายธรรมชาติ ทำลายต้นไม้ไปด้วยในตัว...ผู้เสวนา อ.อัมพร เทพปินตา เสนอแนวคิดว่า เป็นไป
ได้ไหมว่า
ไม้ค้ำศรีเดิม ที่เคยถวายวัด บูชาคืนแล้วกลับมาใช้ใหม่ในปีต่อไป หรือรวมกันทำ หมู่บ้านหนึ่งเพียง 2- 3 ต้นก็พอแล้ว


มีความเห็นจากผู้ร่วมฟังการเสวนามากมาย ทั้ง ผู้อาวุโส และคนรุ่นใหม่ ต่างให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ เช่นการแต่งกาย และกิจกรรมต่างๆ ผู้หลักผู้ใหญ่ คือผู้ที่จะถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ให้กับลูกหลาน เพื่ออนุรักษ์ประเพณีปี๋ใหม่เมืองอันดีงามสืบต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: