โปสเตอร์ป๊ะกั๋นยามแลงครั้งล่าสุด ครั้งที ๒๙

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ป๊ะกั๋นยามแลงครั้งที่ ๒๓ เสน่ห์ของกาดกองต้า


เสน่ห์ของกาดกองต้า เสาร์ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ หนึ่งทุ่มตรง ทิพย์อินน์เกสท์เฮาส์ กาดกองต้า
กาดกองต้า นับเป็นชุมชนเก่าแก่ เป็นแหล่งวัฒนธรรม ตึกรามบ้านช่องที่ทรงคุณค่าทางด้านสถาปัตยกรรม และปัจจุบันเป็นถนนคนเดินของคนลำปาง ที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศ เชิญพวกเรามาร่วมพูดคุยกันถึง ชุมชนกาดกองต้า และกาดกองต้าถนนคนเดินถึงทิศทางการดำรงอยู่และสิ่งที่จะดำเนินต่อไปของชุมชนและถนนคนเดินเพื่อให้เป็นความภาคภูมิใจของพวกเราชาวลำปางทุกคนตราบนานเท่านาน
โดยมีผู้ร่วมเสวนาดังนี้ คุณกิตติภูมิ นามวงค์ รองนายกเทศมนตรีนครลำปาง,
อ.วิสิฐ ตีรณวัฒนากูล นักวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม,
คุณไตรเทพ บุญเฮง ตัวแทนคณะกรรมการบริหารงานกาดกองต้า,
คุณสุทธิพันธ์ สุริยะ ตัวแทนคนเดินถนนคนเดินกาดกองต้า
และ นพ.โกมล ภัทรฤทธิกุล ผู้ดำเนินการเสวนา
นั่งฟรี ฟังฟรี พูดฟรี

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุปป๊ะกั๋นยามแลงครั้งที่ ๒๒ เมื่อกระเป๋าฉีกจะทำอย่างไร











หนึ่งทุ่มตรง วันที่ ๒๐ เสาร์ที่สามของเดือนมิถุนายน
ผู้ร่วมนำเสวนา คุณพจน์ เพียรจริง ตัวแทนภาคสถาบันการเงิน
คุณชาญ อุทริยะ จากชุมชนบ้านสามขา อำเภอ แม่ทะ
คุณนิตยา ช่างสกุล ตัวแทนชาวบ้านและแม่ค้าในตลาด
ผู้ดำเนินการเสวนา นายสมชาย พงศ์จิระเวโรจน์

*1.เศรษฐกิจไทยในภาพรวมล้วนมีผลกระทบในทุกๆด้านไปจนถึงตัวเราเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในสถานการณ์ คนตกงาน ทำงานเงินเดือนน้อย ควรทำอย่างไร? ทางออกมีหลายวิธี ภาคประชาชนชาวบ้านทั่วไป อาจใช้วิธีกู้ยืม ซึ่งอัตราดอกเบี้ยอาจถึงร้อยละ 10-20(กู้นอกระบบ) ตามความต้องการหรือความเดือดร้อนมาก-น้อยเท่าไร? หรือการขอกู้ยืมเงินสินเชื่อจะทำได้อย่างไร ภาคประชาชนหรือชาวบ้านอาจใช้วิธีเปิดบัญชีกระแสรายวัน ส่วนผู้ที่ทำงานมีเงินเดือนประจำอาจทำเรื่องเปิดใช้บัตรเครดิต
ในอดีตวงเงินอนุมัติการเปิดใช้บัตรเครดิตอยู่ที่ 7,000 บาท แต่ในปัจจุบันได้มีการขยายวงเงินการอนุมัติเปิดใช้บัตรเครดิตที่ 15,000 บาท เพียงแต่ทุกคนอาจลืมคิดไป ประชาชน 1 คน อาจมีบัตรเครดิตไว้หลายใบหากมีคุณสมบัติและทำถูกต้องตามกฎการขออนุมัติการใช้บัตรเครดิต ซึ่งถือเป็นสิ่งขาดการควบคุมอย่างเคร่งครัดกลายเป็นผลเสียและเป็น
เหตุให้ลืมตน ใช้เงินเกินความจำเป็นของตนทำให้ปัญหาตามมาภายหลัง ผู้ที่มีวินัยด้านการเงินดีจะสามารถแก้ไขให้ผ่านพ้นภาวะวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำไปได้ ในการกู้ยืมเงินธนาคาร เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ถึงจุดสูงสุด ธนาคารจำเป็นต้องทำตามกฎเกณฑ์ ซึ่งในฐานะตัวแทนภาคสถาบันการเงิน มีความกังวลและเตือนว่านี่อาจเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และอาจก่อให้เกิดข้อผิดพลาด ซึ่งในหลายคนอาจคิดว่าเพราะขั้นตอนทางกฎหมายนั้นช้ามาก ซึ่งนั่นเป็นอดีต แต่ในปัจจุบันมีขั้นตอนทางกฎหมายที่รวดเร็วขึ้น อย่าได้นิ่งนอนใจ
การทำสัญญาข้อตกลงการจัดส่งเงินธนาคาร หากมีการจัดส่งเงินเกินตามข้อตกลงถือเป็นสิ่งดีทั้ง 2 ฝ่ายแต่หากส่งชำระเงินต่ำกว่าสัญญาข้อตกลงหรือกระทำการล่าช้าผิดจากสัญญาอาจทำให้มีผลตามข้อกฎหมายในทันที และอาจโดนปรับถึงร้อยละ 15
1. การค้ำประกัน มีข้อแนะนำการค้ำประกันสำหรับบุคคลผู้ต้องค้ำประกันควรค้ำประกันเป็นบางส่วน หรือเฉพาะส่วนที่สามารถรับผิดชอบได้ ไม่ว่าจะเป็นการค้ำประกันสิ่งใดก็ตาม โดยสามารถกระทำได้ ณ เวลานั้น พยายามค้ำให้เป็นวงเงินเฉพาะ เวลาทำสัญญาควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน แม้แต่ธนาคารบางแห่งเช่นกัน ซึ่งอาจตกลงกันและร่างทำสัญญาในกระดาษเปล่า ซึ่งอาจเกิดผิดพลาดเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลังเนื่องจากมิได้พิมพ์เป็นรูปแบบเอกสารที่แท้จริง ตัวอย่างเช่น ญาติท่านกู้เงิน 100,000บาท ท่านอาจค้ำในวงเงิน 100,00บาทเท่านั้น
2. การผ่อนชำระบัตรเครดิต เช่นเดียวกันหลังจากได้เกิดการผ่อนชำระเสร็จสิ้นไปถึงร้อยละ 30-50 ควรเจรจาต่อรองกับธนาคาร การใช้วิธีประนีประนอมจะส่งผลดีและเป็นที่พอใจกับทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งหากท่านเจรจากับธนาคาร โดยทั่วไปธนาคารมักจะยินยอม เนื่องด้วยหนี้บัตรเครดิตมีความเสี่ยงสูงต่อการหมดอายุความ เพราะมีอายุความเพียง 2 ปี
ข้อดีของยุคภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ฝึกให้เรารู้จักพอเพียง หรือทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตน เช่น ใช้พื้นที่ว่างภายในที่พักอาศัยปลูกผัก หรือทำอะไรที่แก้ปัญหาด้วยตนเอง มิใช่หวังพึ่งน้ำบ่อหน้า เช่น ธนาคารหรือรัฐบาล

*2. สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน สภาพโดยรวมควรมุ่งเน้นลดอัตราการบริโภค จากการวิจัยในปี๒๕๓๙ ปัญหาหนี้สินมาจากการอุปโภค-บริโภคเกินความจำเป็น การแก้ไขปัญหาไม่ควรเอาเงินเป็นที่ตั้งสำหรับการแก้ปัญหา ถือเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง การแก้ปัญหาโดยนำเรื่องเงินเป็นที่ตั้งอาจนำมาซึ่งปัญหาอื่นได้ในภายหลัง อาทิเช่น ครอบครัวขาดความอบอุ่น ทำให้เกิดเป็นปัญหาสังคมตามมาอย่างมิได้ตั้งใจ การแก้ไขปัญหาสภาวะวิกฤติ ทำได้ตามแนวทางดังต่อไปนี้คือ
1. การลดรายจ่าย (ซึ่งเท่ากับเพิ่มรายได้) ในระดับบุคคล,ครอบครัว,ชุมชน
2. ด้านชุมชนควรใช้วิธีรวมตัวกันเพื่อแก้ปัญหา หรือรวมตัวกันเพื่อสร้างมาตรการรองรับเรื่องค่าใช้จ่ายภายในชุมชน
การหาทางแก้ไขปัญหาและทางออก ในบางครั้งอาจสวนกระแสกับกระแสหลักโดยส่วนใหญ่ เป็นการแก้ปัญหาโดยลดรายจ่ายตนเอง ลดสิ่งฟุ่มเฟือยของตนรวมไปจนถึงของสมาชิกในครอบครัว สามารถสรุปแนวทางดังนี้
1. มีความพอเพียง
2. ควรมีการกินอยู่ตามที่มีอยู่จริง ใช้เท่าที่มีอยู่ หากมีความจำเป็นอย่างเลี่ยงมิได้ จึงค่อยใช้จ่ายทรัพย์บางอย่าง การใช้จ่ายทรัพย์เกินความจำเป็นทำให้เรานิสัยเสีย
เคยตัวกับความสบาย ใช้จ่ายเงินเกินตัว
สำหรับชุมชน ก่อนทำสิ่งใด ควรหาข้อมูล และนำมาประยุกต์ใช้กับตนเอง ทั้งควรรู้จักการจัดทำบัญชีการเงินเพื่อสำรวจรายรับ-รายจ่าย ของตนเอง ในทุกๆบาท ทุกๆด้าน รวมไปถึงการจัดระบบการนำเงินออกใช้ส่วนตัวด้วย ในทุกๆครั้ง ควรเน้นการมีส่วนร่วม-มีวินัยในตนเองซึ่งสามารถเรียนรู้ได้จากสังคมทั้งภายในและภายนอก เช่น การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ของบ้านสามขา อ.แม่ทะ
ใช้ชุมชนเป็นหลัก ช่วยกันออมเพื่อจัดทำเป็นเงินกู้ภายในชุมชนโดยไม่ต้องพึ่งแหล่งเงินทุนอื่นๆจากภายนอก ควรดูรายรับของตนเอง แล้วประเมินเพื่อพิจารณาว่าจะจ่ายอย่างไร ไม่บริโภคตามกระแส ตามค่านิยม เพื่อผ่านพ้นวิกฤติทางการเงิน จำเป็นต้อง “กำหนดมาตรฐานตนเอง” ซึ่งหากมีความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหา ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ ไม่ว่าจะอยู่มุมใดของโลก

*3. กล่าวถึงการค้าขายภายในตลาดปัจจุบัน สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ การจับจ่ายใช้สอยในตลาด ไม่ค่อยพบเห็นกลุ่มเยาวชน (วัยรุ่น)มาเดินตลาดสด สังคมปัจจุบันมีความเจริญเติบโต การเลือกที่จะบริโภคมีมากขึ้น ทำให้เกิดการปลูกฝังค่านิยมด้านการบริโภคที่ผิดเพี้ยนไปอาทิ ค่านิยมการบริโภคอาหารฟ้าดฟูด ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเกินตัว ความจริงผู้ปกครองควรรู้จักปลูกฝังในการบริโภค การจับจ่ายในสถานที่ใกล้ตัว เช่น ตลาดสด แทนการจับจ่ายและการบริโภคอาหารฟ้าดฟูดตามค่านิยมในห้างสรรพสินค้าซึ่งมีราคาแพง เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายภายในกระเป๋า ประหยัดขึ้นทั้งยังรู้จักสถานที่รับประทาน ที่ประหยัด และอิ่มท้องมากกว่า และเป็นการสอนให้รู้ถึงการจ่ายเงินที่ถูกต้อง และเกิดประโยชน์สูงสุด
สำหรับชุมชนคนที่ค้าขายในตลาดทั่วไป มีหนี้สินเยอะเช่นกัน เนื่องด้วยประมานตนไม่ถูกว่าควรจะทำการค้าขายอย่างไรให้มีความพอเหมาะพอดี เพื่อลดต้นทุน เช่นท่านขายข้าวราดแกง ควรพิจารณาจำนวนและพฤติกรรมของลูกค้า ว่ามีจำนวนและความต้องการมากน้อยต่างกันอย่างไร จะทำข้าวราดแกงปริมาณเท่าไรต่อวัน กี่อย่างต่อวัน รวมถึงวัสดุที่นำมาจัดทำว่าควรใช้ปริมาณเท่าไร ที่ก่อให้เกิดความประหยัด
ลดรายจ่ายเรื่องต้นทุน ลดภาวการณ์ขาดทุนและ (นิสัย) ความจำเป็นในการกูยืนเงินทั้งในระบบและนอกระบบ
การกู้ยืมเงินนอกระบบ ควรมีความยืดหยุ่น ระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ ผู้ให้กู้ และ ผู้กู้ ควรหันหน้าเข้าหากันให้ความร่วมมือต่อกัน โดยเฉพาะผู้กู้ ไม่ควรหลีกเลี่ยง หลบหน้า หากชำระไม่ตามกำหนดระยะเวลา ซึ่งถือเป็นการยั่วโมโหผู้ให้กู้ ควรจะคุยกันมากกว่าถึงเหตุผลความจำเป็น และผู้ให้กู้ก็ควรมีความยืดหยุ่นสำหรับผู้กู้บ้าง
สำหรับผู้ค้าขายนั้น (รวมถึงทุกๆท่าน) ควรใช้วิธีการหากินแบบพอเพียง ค้ากำไรตามสมควรและคำนึงถึงผู้บริโภคด้วย ไม่หวังผลกำไรเกินควร ในปัจจุบันการค้าขายควรรู้จักค้าขายตามกระแสนิยม ตามความเหมาะสมด้วย เช่น ฤดูฝน ขายร่มในปริมาณที่พอดี ไม่ลงทุนจนหมดทีเดียวและไม่ใช้จ่ายเกินความจำเป็นของตนเอง
ทุกคนควรมีความพยายามประหยัดในทุกๆด้าน ทั้งควรสำรวจตัวตนทุกครั้งเพื่อจะได้รู้ว่าตนควรประหยัดเช่นไรนั่นเอง

ผู้บันทึก คุณวสุธา เทพวงศ์ (วีนัส) ผู้เรียบเรียง นพ.โกมล ภัทรฤทธิกุล